ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
Charles Babbage ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine เมื่อปี ค.ศ. 1822 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนและคำอนุญาติจากรัฐบาล เมื่อปี ค.ศ. 1823 แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องดังกล่าวของแบบเบจก็สร้างได้ไม่สมบูรณ์แบบ เหตุผลหนึ่งที่แบบเบจตัดสินใจหยุดโครงการพัฒนาเครื่อง Difference Engine เนื่องจากได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณของเครื่องดังกล่าว จนกระทั่งต่อมา แบบเบจก็ได้ทำการพัฒนาเครื่องใหม่ภายใต้ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชันหน้าที่หลายๆ อย่างเช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ดังนั้นแบบเบจจึงถูกขนานนามให้เป็น “บิดาแห่งคอมพิวเตอร์” เป็นต้นมา
Lady Augusta Ada Byron
เป็นสตรีคนสำคัญคนหนึ่งที่ช่วยออกแบบเครื่องของแบบเบจ
อีกทั้งยังได้เสนอแนวคิดแหละเป็นผู้เขียนโปรแกรมชิ้นแรกเพื่อใช้กับเครื่องดังกล่าว
ต่อมาเธอก็ได้ถูกขนานนามให้เป็น “โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก” ต่อมาในปี พ.ศ. 2522
(ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก
พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอดา ว่า ภาษา “ADA”
Herman Hollerith ในปี ค.ศ.1887 เฮอร์แมน ฮอลเลอริธ (Herman Hollerith ) ได้ทำการพัฒนาเครื่อง Tabulating Machines ขึ้น ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรู สามารถจัดเรียงบัตรมากกกว่า 200 ใบต่อนาที และก็ได้นำมาชั้งานสำรวจสำมะโนประชากรของชนอเมริกันหลายครั้งด้วยกัน และต่อมา ในปี ค.ศ. 1896 เฮอร์แมนก็ได้ทำการก่อตั้งบริษัทตนเองขึ้นมาภายใต้ชื่อว่า The Tabulating Machine Company และอีกไม่นานต่อมาก็ได้ทำการรวมบริษัทกว่า 10 แห่งด้วยกันและก่อตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อว่า International Business Machines ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บริษัทคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกซึ่งก็คือบริษัท IBM นั่นเอง
Alan Turing แอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan
Mathison Turing) (ค.ศ.
1912) – (ค.ศ. 1954)
เป็นนักคณิตศาสตร์,นักตรรกศาสตร์,นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ
และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์
เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ
โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริง
ได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุกๆ
รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ทัวริงมีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut
8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอินิกมา
ที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ
หลังจากสงครามเขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ
ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริงๆ
ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริง ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้
นอกจากนั้นแล้ว การทดสอบของทัวริงที่เขาได้เสนอนั้นมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่อง
ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งในขณะมีถกเถียงที่สำคัญว่า : เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักร์นั้นมีสำนึกและสามารถคิดได้
Konrad Zuse Z3 ของประเทศเยอรมนี ออกแบบใน ค.ศ. 1941 โดย Konrad
Zuse เป็นคอมพิวเตอร์ไฟฟ้าจักรกลอเนกประสงค์เครื่องแรก
มันเป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัล ใช้เลขคณิตฐานสอง เป็นทัวริงบริบูรณ์
และโปรแกรมได้เต็มที่ โดยใช้เทปเจาะรู แต่ใช้รีเลย์ในการทำงานทั้งหมด
ดังนั้นจึงไม่ใช่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
Prof.Howard H. Aiken ในปี ค.ศ. 1937 ศาสตราจารย์ โฮเวิร์ด ไอเค็น (Professor Howard H. Aiken)
ร่วมมือกับวิศวกรจากไอบีเอ็กได้สร้างเครื่อง MARK I ซึ่งเป็นการสานแนวความคิดของแบบเบจได้สำเร็จ
โดยเครื่อง MARK I นี้เป็นเพียงเครื่องจักรกลทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electro-Mechanical Machine)
ซึ่งสร้างด้วยสวิตช์จักรกลไฟฟ้า ที่เรียกว่า ตัวรีเลย์ (Electro-Magnetic
Relays) และเครื่อง MARK
I ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี
ค.ศ. 1944
ปี พ.ศ.2480-2481 Dr.John V. Atanasoff & Clifford Berry ศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ ณ Lowa State College พร้อมผู้ช่วยชื่อ คลิฟฟอร์ด เบอรี (Clifford Berry) ได้สร้างเครื่องคำนวณที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องแรกของโลกภายใต้ชื่อว่า เครื่อง ABC (The Atanasoff-Berry-computer) โดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) ระบบเลขฐานมีหน่วยความจำและวงจรตรรกะเพื่อใช้กับการคำนวณทางฟิสิกส์ ซึ่งคล้ายกับเครื่องคิดเลขในปัจจุบัน ถึงแม้เครื่อง ABC จะไม่ได้รับการกล่าวขานและใช้งานอย่างจริงจัง แต่ก็ถือเป็นก้าวแรกของเครื่องคำนวณทางอิเล็กทรอนิกส์นับจากนั้นมา
ในปี ค.ศ. 1946 ดร.จอนห์น ดับบลิว มอชลี และศาสตราจารย์ เจ เพรสเพอร์ เอ็คเคิร์ต (Dr. John W. Mauchly & J. Presper Eckert) ได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) ซึ่งเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่อง MARK I โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ENIAC จำเป็นต้องใช้ห้องเพื่อติดตั้งที่มีขนาดถึง 30 × 50 ฟุต ตัวเครื่องมีหลอดสุญญากาศกว่า 18,000 หลอด หนักกว่า 30 ตัน ใช้กำลังไฟฟ้า 150 กิโลวัตต์ บวกเลขได้ 5000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งประมวลได้เร็วกว่าเครื่อง MARK I กว่าหนึ่งพันเท่า ถึงแม้เครื่อง MARK I,ABC และ ENIAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ยังมีการโปรแกรมภายนอกอยู่
ดร.จอห์น ฟอน นอยมานน์ (Dr.John von Neumann) ได้สร้างแนวคิดในการจัดเก็บโปรแกรม (Storde Program Concept) โดยมีหน่วยความจำที่สามารถทำหน้าที่ในการจัดเก็บได้ทั้งข้อมูล (Data) และชุดคำสั่ง (Instructinos) และนอยมานน์ก็ได้ร่วมมือกับทีมงานเดิมที่ได้สร้างเครื่อง ENIVAC เพื่อสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer) และ EDSAC (Electronec Delay Storage Automatic Computer) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ ที่ใช้แนวคิดในการจัดเก็บโปรแกรมเป็นต้นมา
Dr.Ted Hoff ดร.เทด ฮอฟฟ์ แห่งบริษัทอินเทลได้มีการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น Intel 4004
Steve Jobs & Steve Wazniak ได้สร้างแอปเปิลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแรก ภายใต้ชื่อว่า Apple ll และได้รับการตอบรับถึงความสำเร็จอย่างรวดเร็วทั่วโลก เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้มีการนำไปใช้งานสถาบันการศึกษาต่างๆ และนักศึษาหลายคนก็ได้มีโอกาสสัมผัสเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก
Bill Gates บริษัทไอบีเอ็ม เสนอให้บริษัทไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นของ บิลเกตส์ ให้ทำการพัฒนาโปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี (PC-DOS) หลังจากนั้นเป็นต้นมา บิลเกตส์ก็ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ MS-DOS ขึ้นมาใช้งานบนเครื่องพีซีทั่วไป ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม