วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ไกลแค่ไหน คือ ใกล้ - getsunova (Official Audio)




ไกลแค่ไหน คือใกล้
getsunova




เพลงไกลแค่ไหน คือใกล้  
เหตุที่เลือกเพลงนี้เพราะว่า เป็นเพลงที่ฟังแล้วสบายหูดี ฟังแล้วซึ้ง  รู้คุณค่าของการรอคอย  และผลตอบแทนของการรอ ที่กว่าจะได้อยู่ใกล้ๆ กัน ต้องรอคอยเวลานานแสนนาน จึงมีความหมายสำหรับคนที่รอ..หลายๆคน   บางคนอาจคิดว่าเพลงนี้อาจจะไม่เพราะ แต่สำหรับดิฉันแล้ว  เพราะและมีความหมายกับดิฉันดี  ตรงกับดิฉันดี  การรอคอยที่พูดถึง อาจจะไม่ใช่การรอคอยความรักจากคนที่รัก แต่อาจเป็นการรอคอยจากคนๆ หนึ่งก็อาจเป็นไปได้
ในความรู้สึกของดิฉัน ที่เลือกเพลงนี้  ในอีกเหตุผลก็เพราะว่า เคยฟังเพลงนี้แล้วอินกับเพลงจนน้ำตาไหล   เลยอยากให้คนที่ฟัง ได้ฟังและคิดไปตามเนื้อเพลงจะเข้าใจถึงความหมายของเพลง ที่ไม่ว่าจะไกลแค่ไหน ก็ยังมีวันที่ใกล้กันเสมอ ถ้าเรายึดมั่น......

#เหตุผลอาจจะดูน้ำเน่าไป แต่ออกจากความรู้สึกล้วนๆ#



วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารข้อมูล


เอไอเอสให้ดูบอลพรีเมียร์ลีกบนมือถือ
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 เวลา 09:18 น.

 
 
เอไอเอส 3G 2100 นำฟุตบอลระดับโลกพรีเมียร์ลีกอังกฤษ เสิร์ฟให้เฉพาะลูกค้าเอไอเอสชมแบบสดๆ บนมือถือ ครบ380 แมทช์เป็นครั้งแรก ในราคาพิเศษเดือนละ199 บาทตลอดฤดูกาล
นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาลผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขาย  บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ที่ผ่านมาเอไอเอส สนับสนุนกิจกรรมทางด้านกีฬาและมีส่วนร่วมในการให้กำลังใจนักกีฬาไทยมาโดยตลอด เพราะเชื่อว่าความมุ่งมั่น ตั้งใจ จะทำให้สามารถก้าวสู่การเป็นตัวจริงในระดับโลกได้ วันนี้เอไอเอส 3G 2100 ตัวจริง มาตรฐานโลก ในฐานะผู้นำในการให้บริการโทรศัพท์มือถือของไทย ได้ออกแคมเปญใหม่ “AIS Mobile Barclays Premier League” โดยนำฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ซึ่งเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของชาวไทยและทั่วโลกมาให้เฉพาะลูกค้าเอไอเอส ได้ชมกันสดๆ ผ่านอุปกรณ์พกพา โดยไร้ข้อจำกัด ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเครือข่ายเอไอเอส 3G 2100 ครบทั้ง 380 แมทช์ตลอดฤดูกาลแรก ความคมชัดระดับเอชดีเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์และบริการดิจิตอล เอไอเอส กล่าวเพิ่มเติมว่า แคมเปญ “AIS Mobile Barclays Premier League” เป็นสิทธิพิเศษให้เฉพาะลูกค้าเอไอเอสที่ชื่นชอบกีฬาฟุตบอล ให้สามารถรับชมการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษบนมือถือทุกประเภทได้ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ แอพฯ AIS Mobile BPL กด *909# แล้วโทรออก เพื่อดาวน์โหลด App Mobile BPL มาไว้บนมือถือทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์ ส่วนลูกค้าที่ใช้มือถือทั่วไปหรือฟีเจอร์โฟน หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ ชมได้ผ่าน wap.mobilelife.co.th/mobilebpl ทั้งนี้ แพ็กเกจดูบอลพรีเมียร์ลีกสดผ่านมือถือครบทั้ง 380 แมทช์ จะคิดราคาพิเศษเหลือเพียงเดือนละ 199 บาท ตลอดฤดูกาล จากปกติเดือนละ 299 บาท เมื่อสมัครตั้งแต่วันนี้ – 30 ก.ย. 56 ส่วนแพ็กเกจพรีเมียร์ ลีก ไลฟ์ สกอร์( Premier League Live Score) จะเป็นการรายงานสดผลการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษผ่านเอสเอ็มเอส พร้อมชมคลิปการยิงประตูแบบลูกต่อลูก และคลิปวิเคราะห์จากกูรู ค่าบริการ 49 บาท/สัปดาห์ โดยสามารถทดลองใช้งานได้ฟรี 7 วัน ในการสมัครครั้งแรก รวมถึง ซิมใหม่ลายพรีเมียร์ลีก พิเศษสำหรับแมทช์เปิดสนามในวันที่ 17 ส.ค. 56 นี้ เอไอเอสจะจัดกิจกรรมเอาใจคอบอลให้ร่วมสนุกในงาน “AIS Mobile BPL Exclusive Party” กระทบไหล่ซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังของเมืองไทย อาทิ กระแต-ศุภักษร , โบวี่-อัฐมา , ฮั่น-เดอะสตาร์ , แมทธิว-ลีเดีย เป็นต้นพร้อมชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษแมทช์แรกของฤดูกาล 2013-2014 ร่วมกัน ณ พารากอนฮอลล์ 3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ลูกค้าเอไอเอสที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ เพียงกด *909*9# แล้วโทรออก
 
 


วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Moore's law คืออะไร

Moore's law


Moore's law คือ
          กฎของมัวร์ หรือ Moore's  law  คือ กฎที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอรที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆสองปี Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel  ซึ้งได้อธิบายแนวโน้มไว้ในรายงานของเขาในปี 1965 จึงพบว่ากฎนี้แม่นยำ อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรม semiconductor  นำกฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมได้ Moore’s law เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบนแผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้น Moore predicted that this trend would continue for the foreseeable future. มัวร์ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไป,การก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อยแต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือน
กฎของมัวร์ (Moore's Law)       
          ในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ 
          การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิตทรานซิสเตอร์แบบ  Planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์ 
 
          คำว่า กฎของมัวร์ นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์   Caltech   นามว่า    Carver Mead
ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965 ต่อมามัวร์จึงได้
เปลี่ยนรูปกฎ เพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975
 


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)



            บิตตรวจสอบ  (Party Bit)

 
            บิตตรวจสอบ  หรือพาริตี้บิตเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก  1 บิต เป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์   มีวิธีการตรวจสอบอยู่ 2 วิธี คือ 
1.    การตรวจสอบบิตภาวะคู่  (Even  Parity)
2.     การตรวจสอบบิตภาวะคี่  (Odd  Parity)

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสแทนข้อมูล


รหัส  ASCII และ รหัส Unicode

รหัส ASCII
 
ASCII


         เดิมการแทนรหัสฐานสองด้วยพยัญชนะในภาษา ต่างๆเป็นการกำหนดกันเอง ขึ้นอยู่กับว่า ใครพัฒนาขึ้นมาทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดไม่ สามารถส่งผ่านกัน ได้เพราะใช้รหัสในเลขฐานสองไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อที่จะให้สื่อสารกันได้ จึงจำเป็นต้องมีการ กำหนดมาตรฐานของรหัสขึ้น สำหรับภาษาอังกฤษ เรียกว่า รหัสแอสกี้ (American Standard
Code Interchange,ASCII)
รหัสที่เป็นมาตรฐาน คือ รหัส ASCII
        
  American Standard Code For Information Interchange (ASCII) อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI อ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่นรหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย 
 
 
รหัส Unicode
Unicode  คือ
                Unicode กำหนดหมายเลขเฉพาะสำหรับทุกอักขระโดยไม่สนใจว่าเป็นแพล็ตฟอร์มใด
ไม่ขึ้นกับว่าจะเป็นโปรแกรมใดและไม่ว่าจะเป็นภาษาใด
โดยพื้นฐานแล้ว คอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของตัวเลข คอมพิวเตอร์จัดเก็บตัวอักษรและอักขระอื่นๆ โดยการกำหนดหมายเลขให้สำหรับแต่ละตัว ก่อนหน้าที่ Unicode จะถูกสร้างขึ้น ได้มีระบบ encoding อยู่หลายร้อยระบบสำหรับการกำหนดหมายเลขเหล่านี้ ไม่มี encoding ใดที่มีจำนวนตัวอักขระมากเพียงพอยกตัวอย่างเช่น เฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปเพียงแห่งเดียว ก็ต้องการหลาย encoding ในการครอบคลุมทุกภาษาในกลุ่ม หรือแม้แต่ในภาษาเดี่ยว เช่น ภาษาอังกฤษ ก็ไม่มี encoding ใดที่เพียงพอสำหรับทุกตัวอักษร เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ทางเทคนิคที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
ระบบ encoding เหล่านี้ยังขัดแย้งซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ในสอง encoding สามารถใช้หมายเลขเดียวกันสำหรับตัวอักขระสองตัวที่แตกต่างกันหรือใช้หมายเลขต่างกันสำหรับอักขระตัวเดียวกัน ในระบบคอมพิวเตอร์ (โดยเฉพาะเซิร์ฟเวอร์) ต้องมีการสนับสนุนหลาย encoding  และเมื่อข้อมูลที่ผ่านไปมาระหว่างการเข้ารหัสหรือแพล็ตฟอร์มที่ต่างกัน ข้อมูลนั้นจะเสี่ยงต่อการผิดพลาดเสียหาย
 
หลักการทำงานของ Unicode
รหัสแบบที่กำหนด 1 byte หรือ 8 บิตสำหรับ 1 ตัวอักษรนั้นมีความเหมาะสมและเพียงพอสำหรับภาษาที่ใช้ตัวอักขระแต่ละตัวแทนเสียงในภาษา (alphabetical language) แต่สำหรับภาษาที่เขียนโดยใช้ตัวอักขระแทนพยางค์หรือหน่วยคำ เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน จะมีจำนวนอักขระที่เขียนเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่จะแทนด้วย 1 byte ได้ (ซึ่งแทนได้เพียง 256 แบบของตัวอักขระ) อีกทั้งเมื่อมีการใช้รหัสอักขระที่แตกต่างกัน ก็จะมีผลต่อการย้ายข้อมูลข้ามภาษา เช่น รหัสที่แทนตัวอักขระ ก ที่ใช้ภาษาไทยจะไปตรงกับรหัสตัวอักขระ ¡ ในอีกตารางหนึ่ง เป็นต้น จึงมีความพยายามแก้ปัญหาให้มีรหัสเดียวที่ใช้ได้กับอักขระทุกภาษา ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนารหัส Unicode ขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ.1991 (Unicode 1.0) โดยที่รหัสตัวอักขระ 256 ตัวแรกนั้นจะเหมือนกับรหัสของ ISO-8859 ปัจจุบันพัฒนามาถึง Unicode 5.1
 

 


 
 
 
KANJANA HLUANGTONG

K     01001011
A     01000001
N     01001110
J      01001010
A     01000001
N     01001110
A     01000001
 
H     01001000
L     01001100
U    01010101
A     01000001
N     01001110
G     01000111
T     01010100
O     01001111
N     01001110
G     01000111
 
 0100101101000001010011100100101001000001010011100100000101001000
 010011000101010101000001 0100111001000111010101000100111101001110
 01000111

 
ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ   136 บิต   17 ไบต์
 








 

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์


ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็นยุคๆ ตามช่วงเวลา และมีเหตุการณ์สำคัญๆ รวมถึงจุดเปลี่ยนแปลงเด่นๆ
 
 
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
เริ่มจากเครื่อง UNIVAC I เป็นต้นมา ซึ่งเครื่อง UNIVAC I   นี้ เอ็คเคิร์นและมอชลีได้เริ่มโครงการสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1946 ณ มหาวิทยาลัยเพนซิวาเนีย โดยสร้างสำเร็จและเผยสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1951 เครื่อง UNIVAC I เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่นำมาใช้กับงานด้านธุรกิจเมื่อปี ค.ศ. 1954 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 จะใช้หลอดสุญญากาศ เป็นหน่วยประมวลผลกลาง




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
ในปี ค.ศ. 1947 นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์เบลล์แล็บได้ค้นพบอุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ เพื่อใช้แทนหลอดสุญญากาศ คุณสมบัติของทรานซิสเตอร์ คือเป็นสวิสซ์ที่มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ประมวลผลรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นในยุคที่ 2 ส่วนหน่วยความจำหลักที่ใช้ในยุคนี้คือ วงแหวนแม่เหล็ก และใช้บัตรเจาะรู เทปแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำสำรอง




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
ในระหว่างปี ค.ศ. 1960 ได้มีการค้นพบเทคโนโลยีโซลิดสเตต โดยที่โซลิดสเตตเป็นการรวมของทรานซิสเตอร์ ไดโคดและรีจิสเตอร์ลงในชิปเดี่ยวบนซิลิคอน ทรานซิสแต่ละตัวจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยโลหะขนาดเล็กเพื่อใช้สร้างเป็นวงจรชนิดต่างๆ  ในยุคนี้ได้มีการใช้ภาษาระดับสูงอย่างแพร่หลาย คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 ถือเป็นยุคแห่งการประมวลผลข้อมูล มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ ที่ใช้ในการรวม จัดเรียง และการโอนถ่ายข้อมูลจากสื่อจัดเก็บหนึ่งไปยังสื่อจัดเก็บอื่นๆ



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
ในกลางปี ค.ศ. 1970 บริษัทอินเทลได้ค้นพบวิธีการนำทรานซิสเตอร์หลายพันตัวบรรจุลงในชิปซิลิคอนหรือไอซีเพียงตัวเดียว และต่อมาในปี ค.ศ. 1975 คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ได้สร้างขึ้นภายในชื่อว่า Altair8800 ซึ่งเป็นไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ในยุคที่ 4 ไมโครคอมพิวเตอร์ได้มีการแพร่หลายมาก จนกระทั่งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้ทำการสร้าง เครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิล และเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ตัวแรกที่ได้รับความนิยามใช้งานเป็นอย่างสูงนับแต่นั้นมา


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
ในปี ค.ศ. 1979  บริษัทโมโตโรลา ได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์ รุ่น MC68000 ที่บรรจุจำนวนทรานซิสเตอร์ได้ถึง 68,000 ชิ้น และไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายได้ใช้ชิปดังกล่าวเป็นตัวประมวลผลชิปนี้มีความสามารถเทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนๆ เลยทีเดียว   เทคโนโลยีในยุคที่ 5 จัดเป็นยุคปัจจุบันที่ใช้ความสามารถของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับงานด้านฐานความรู้ ระบบผู้เชี่ยวชาญ และระบบปัญญาประดิษฐ์



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 6 (ปี ค.ศ. 1990- ปัจจุบัน)
ที่ผ่านมาทั้ง 5 ยุค พัฒนาการของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทางการปรับปรุงการผลิต และการ เสริมสร้างความสามารถทางด้านการคำนวณของคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการจำกัด ความสามารถทางด้านการป้อนข้อมูล ในปัจจุบัน ความต้องการทางด้านการป้อนข้อมูลอย่างอิสระ โดยใช้เสียงและภาพ ซึ่งถือเป็นการป้อนข้อมูลโดยธรรมชาตินั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ไม่เป็นเพียงแต่เครื่องคำนวณ จึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี การติดต่อระหว่างประเทศและอื่น ๆ